13 พฤศจิกายน 2557

ระบบเก็บข้อมูลของดาวเทียม landsat

               1. ดาวเทียมแลนด์แซด 1 – 2 และ 3
           - มีขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายผีเสื้อ มีน้ำหนักประมาณ 953 กิโลกรัม สูงประมาณ 3 เมตร กว้างประมาณ 1.5 เมตร มีแผงรับพลังงานจากดวงอาทิตย์คล้ายปีกสองข้าง มีความกว้างประมาณ 4 เมตร วงโคจรสูงประมาณ 900 กิโลเมตร และความเร็ว 6.5 กิโลเมตร
           - ระบบเก็บข้อมูล ระบบ MSS (Multispectral Scanner) มี 4 ช่วงคลื่น

            2. ดาวเทียมแลนด์แซด 4 – 5  
             -ได้รับการออกแบบให้มีความซับซ้อนกว่าดาวเทียมแลนด์แซด1–2และ3           
             - รูปร่างถูกดัดแปลงเพื่อปรับปรุงทางด้านความสามารถในการควบคุมวิถีโคจรของดาวเทียมเพิ่มขึ้น มีความสามารถที่เหนือกว่าดาวเทียมแลนด์แซด 1 – 2 และ 3 คือการใช้สื่อสารระบบ Tracking and Data Relay Satellite (TDRS) ที่สามารถถ่ายทอดข้อมูลจากดาวเทียมไปสู่โลกในเวลาที่ใกล้เคียงกับเวลาบันทึกภาพ (Real time) ช่วยลดปัญหาเครื่องบันทึกเทปที่มีข้อจำกัดด้านอายุการใช้งาน
              - ระบบเก็บข้อมูล ระบบ TM (Thematic Mapper) มีการบันทึกข้อมูลใน 7 ช่วงคลื่น



               3. ดาวเทียมแลนด์แซด 6 ที่ได้สูญหายไปจากวงโคจร



             4. ปัจจุบันดาวเทียมแลนด์แซด 7
        ได้ถูกส่งขึ้นไปปฏิบัติงานเมื่อ 15 เมษายน 2542 โดยมีระบบบันทึกข้อมูลที่เรียกว่า ETM+ (Enhance Thematic Mapper Plus) ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนาจาก TM โดยในแบนด์ 6 ช่วงคลื่นความร้อน ได้รับการพัฒนาให้มีรายละเอียดสูงถึง 60 เมตร และได้เพิ่ม แบนด์ Panchromatic รายละเอียด 15 เมตร เข้าไปอีก 1 แบนด์ กลับด้านบน 



               5.ดาวเทียมแลนด์แซด 8
            ดาวเทียมแลนด์แซต 8 หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Landsat Data Continuity Mission (LCDM) ที่เป็นดาวเทียมดวงที่ 8 หรือดวงล่าสุดในปฏิบัติการสำรวจโลกแลนด์แซต ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 1972 ขึ้นไปสู่วงโคจรในระดับความสูง 680 กิโลเมตร โดยดาวเทียมจะทำงานร่วมกับแลนด์แซท-7 ซึ่งมีพลังงานเพียงพอที่จะทำงานได้ถึงปี 2016






ที่มา

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น