สำหรับประเทศไทยมีผืนแผ่นดินกว้างใหญ่ มีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมากจึงจำเป็นต้องอาศัยดาวเทียมสำรวจทรัพยากรช่วยในการสำรวจ เช่น ลักษณะภูมิประเทศ ธรณีวิทยา ป่าไม้ การใช้ที่ดิน การเกษตร สิ่งแวดล้อม การวางผังเมือง โบราณคดี ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์การแก้ไขแผนที่ และทรัพยากรน้ำ เนื่องจากพื้นที่บางแห่งเข้าไปสำรวจยากลำบาก เช่น พื้นที่ป่าพรุ ป่าทึบ
ประเทศไทยได้เข้าร่วมโครงการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียมขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NASA) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2514
ปลายปี พ.ศ. 2524 ประเทศไทยได้จัดตั้งสถานีรับสัญญาณดาวเทียมสำรวจภาคพื้นดินเป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในเขตลาดกระบัง มีรัศมีขอบข่ายการรับสัญญาณประมาณ 2,500 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุม 17 ประเทศ ดังนี้ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย พม่า กัมพูชา เวียดนาม ลาว บังกลาเทศ ภูฏาน เนปาล อินเดีย บรูไน ศรีลังกา ไต้หวัน สาธารณรัฐประชาชนจีน และฮ่องกง สถานีรับ ฯ นี้ สามารถรับสัญญาณจากดาวเทียม LANDSAT และดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา NOAA
ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรของโลกมีมากมาย แต่ดวงที่สำคัญและประเทศไทยได้เข้าร่วมรับสัญญานและใช้สำรวจทรัพยากร มีอยู่ 3 ดวง คือ ดาวเทียมแลนด์แซท-5 ของสหรัฐอเมริกา อีก 2 ดวง เป็นของประเทศอินเดีย และประเทศแคนาดา
ตัวอย่าง การทำงานในประเทศไทย
แผนที่ประเทศไทย ทำขึ้นจากการต่อภาพที่ได้จากดาวเทียมแลนด์แซตเข้าด้วยกันซึ่งเรียกว่า ขบวนการโมเสกภาพ
การสำรวจจากระยะไกลทำได้จากหลายระดับความรู้โดยใช้ทั้งเครื่องบิน และดาวเทียมเป็นพาหนะในการนำอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่เหมาะสมขึ้นไปบันทึกข้อมูล
จานรับสัญญาณจากดาวเทียม MOS - 1 ของญี่ปุ่น ซึ่งรับอยู่บริเวณสถานีรับฯ ที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
การวิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียมด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อศึกษาสภาพป่าชายเลนที่ถูกบุกรุกแผ้วถางเพื่อใช้ทำนากุ้ง
การบุกรุกแผ้วถางป่าชายเลน เพื่อทำการเพาะเลี้ยงกุ้งทำให้เกิดความเสื่อมโทรมและขาดความสมดุลของธรรมชาติจะเป็นผลเสียในระยะยาว
การใช้ประโยชน์จากข้อมูลระยะไกลด้วยดาวเทียมโดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ สามารถให้ผลออกมาหลายสาขา เนื่องจากพื้นที่ปกคลุมกว้างขวาง ภาพนี้แสดงให้เห็นการใช้ที่ดิน สิ่งปกคลุมดิน พื้นที่ทำการเกษตรและแหล่งน้ำผิวดิน เป็นต้น
อุบัติภัยจากธรรมชาติที่ อ.พิปูน นครศรีธรรมราช เมื่อ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๒ เห็นร่องรอยแห่งอุบัติภัยเป็นแนวดินถล่มที่น้ำท่วมฉับพลันในแนวสีม่วงและสีน้ำตาล ภาพจากดาวเทียมทำให้สามารถตรวจสอบและบันทึกได้
ที่มา
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น