การสำรวจข้อมูลระยะไกลประกอบด้วย 2 กระบวนการ
1. การรับข้อมูล (Data Acquisition) โดยอาศัย
- แหล่งพลังงาน คือ ดวงอาทิตย์
- การเคลื่อนที่ของพลังงาน
- ปฏิสัมพันธ์ของพลังงานกับพื้นโลก
- ระบบการบันทึกข้อมูล
- ข้อมูลที่ได้รับทั้งในแบบข้อมูลเชิงตัวเลขและรูปภาพ กลับด้านบน
2. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) ประกอบด้วย
การแปลตีความข้อมูลภาพจากดาวเทียมด้วยสายตาข้อมูลที่นำมาแปลตีความหรือจำแนกประเภทข้อมูลภาพจากดาวเทียมด้วยตา
เป็น ข้อมูลที่อยู่ในรูปของภาพพิมพ์หรือฟิล์ม โดยภาพแต่ละช่วงคลื่นของการบันทึกภาพ
อยู่ในลักษณะขาวดำจึงยากต่อการแปลตีความหมาย ด้วยสายตา การเลือกใช้ภาพสีผสม
ซึ่งได้มีการเน้นข้อมูลภาพ (Enhancement) ให้สามารถจำแนกประเภทข้อมูลได้ชัดเจนและง่ายขึ้นนั้น
สามารถทำได้โดยกำหนดสีของแต่ละช่วงคลื่นเลียนแบบระบบธรรมชาติ
แล้วนำภาพที่ได้ให้แสงสีแล้วนี้ มารวมกัน 3 ภาพ (3 ช่วงคลื่น) เพื่อให้เกิดเป็นภาพสีผสมขึ้น ในช่วงคลื่นสั้นและยาว
โดยใช้แสงสีน้ำเงิน เขียวและแดง ตามลำดับของแสงช่วงคลื่นที่สายตาสามารถมองเห็น
จึงถึงช่วงคลื่นอินฟาเรด ภาพสีผสมที่ปรากฏให้เห็น คือ พืชพรรณ ต่างๆ
จะปรากฏเป็นสีแดงหรือสีเขียว เนื่องจากปฏิกิริยาการสะท้อนสูง ที่คลื่นช่วงยาว
ภาพที่พืชปรากฏสีแดง เรียกว่า ภาพสีผสมเท็จ (False Colour Composite –
FCC) และภาพที่พืชปรากฏเป็นสีเขียว เรียกว่า ภาพผสมจริง (True
Colour)
องค์ประกอบในการแปลและตีความภาพถ่ายจากดาวเทียมด้วยสายตา
1. สีและระดับความเข้มของสี (Colour tone and brightness)
2. รูปร่าง (Shape)
3. ขนาด (Size)
4. รูปแบบ (Pattern)
5. ความหยาบละเอียดของเนื้อภาพ (Texture)
6. ความสัมพันธ์กับตำแหน่งและสิ่งแวดล้อม (Location and Association)
7. การเกิดเงา (Shadow)
8. การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล (Temporal change)
9. ระดับสี (Tone)
นอกจากองค์ประกอบดังกล่าวแล้ว
สิ่งที่จะช่วยในการแปลความหมายได้ถูกต้องมากขึ้นได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศและการเลือกภาพในช่วงเวลาที่เหมาะสม
หลักการวิเคราะห์ภาพถ่ายจากดาวเทียมด้วยสายตา
ควรดำเนินการแปลและตีความจากสิ่งที่เห็นได้ง่าย
ชัดเจนและคุ้นเคยเสียก่อนแล้วจึงพยายามวินิจฉัยในสิ่งที่จำแนกได้ยาก
ไม่ชัดเจนในภายหลัง หรือเริ่มจากระดับหยาบๆก่อนแล้วจึงแปลในรายละเอียดที่หลัง
กลับด้านบน
วิธีการจำแนกข้อมูลดาวเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบ่งออกได้ 2 วิธี ได้แก่
2.2.1 การจำแนกประเภทข้อมูลแบบกำกับดูแล (Supervised
Classification) เป็นวิธีการจำแนกข้อมูลภาพซึ่งจะต้องประกอบด้วยพื้นที่ฝึก
(Training areas) การจำแนกประเภทของข้อมูลเบื้องต้น
โดยการคัดเลือกเกณฑ์ของการจำแนกประเภทข้อมูล
และกำหนดสถิติของของประเภทจำแนกในข้อมูล จากนั้นก็จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งภาพ
และรวบรวมกลุ่มชั้นประเภทจำแนกสถิติคล้ายกันเข้าด้วยกัน
เพื่อจัดลำดับขั้นข้อมูลสุดท้าย
นอกจากนี้แล้วก็จะมีการวิเคราะห์การจำแนกประเภทข้อมูลลำดับสุดท้าย
หรือตกแต่งข้อมูลหลังจากการจำแนกประเภทข้อมูล (Post-classification)
2.2.2 การจำแนกประเภทข้อมูลแบบไม่กำกับดูแล (Unsupervised
Classification)
เป็นวิธีการจำแนกประเภทข้อมูลที่ผู้วิเคราะห์ไม่ต้องกำหนดพื้นที่ฝึกของข้อมูลแต่ละประเภทให้กับคอมพิวเตอร์
มักจะใช้ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลเพียงพอในพื้นที่ที่การจำแนก
หรือผู้ปฏิบัติไม่มีความรู้ความเคยชินในพื้นที่ที่ศึกษา
วิธีการนี้สามารถทำได้โดยการสุ่มตัวอย่างแบบคละ
แล้วจึงนำกลุ่มข้อมูลดังกล่าวมาแบ่งเป็นประเภทต่างๆ กลับด้านบน
การวิเคราะห์หรือการจำแนกประเภทข้อมูลต้องคำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้
1) Multispectral
Approach คือ ข้อมูลพื้นที่และเวลาเดียวกันที่ถูกบันทึกในหลายช่วงคลื่น
ซึ่งในแต่ละช่วงความยาวคลื่น (Band) ที่แตกต่างกันจะให้ค่าการสะท้อนพลังงานของวัตถุหรือพื้นผิวโลกที่แตกต่างกัน
2) Multitemporal
Approach คือ การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
จำเป็นต้องใช้ข้อมูลหลายช่วงเวลา เพื่อนำมาเปรียบเทียบหาความแตกต่าง
3) Multilevel
Approach คือ
ระดับความละเอียดของข้อมูลในการจำแนกหรือวิเคราะห์ข้อมูล
ซึ่งขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้งาน เช่น
การวิเคราะห์ในระดับภูมิภาคก็อาจใช้ข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT ที่มีรายละเอียดภาพปานกลาง (Medium Resolution) แต่ถ้าต้องการศึกษาวิเคราะห์ในระดับจุลภาค เช่น ผังเมือง
ก็ต้องใช้ข้อมูลดาวเทียมที่ให้รายละเอียดภาพสูง (High Resolution) เช่น ข้อมูลจากดาวเทียม SPOT, IKONOS, หรือรูปถ่ายทางอากาศ
เป็นต้น
ที่มา
http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/201/sattlelite/6.htm
ที่มา
http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/201/sattlelite/6.htm
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น